 |
ต้นเบญจมาศ Chrysanthenum
เบญจมาศ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Chrysanthemum monrifolium วงศ์ : COMPOSITAE ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ จีน ญี่ปุ่น เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่ดอกมีสีสันสดใส นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง ใช้คลุมดินตามแนวทางเดินหรือริมรั้วเพราะเป็นต้นไม้ที่ชอบแดด แต่เบญจมาศก็สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารได้ เพราะถ้ามีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็สามารถออกดอกได้สวยงาม จึงเป็นที่นิยมนำมาเป็นไม้ประดับภายในอาคารเพื่อสร้างสีสันสดใสให้กับสถานที่ แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าเบญจมาสเป็นไม้ประดับที่มีความสามารถสูงมาก ในการดูดสารพิษภายในอาคาร เบญจมาศเป็นไม้ขนาดเล็กสูงประมาณ 1-3 ฟุต ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนละเอียด ใบเรียวรี ขอบใบหยัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อนๆ ทั่วทั้งใบ ดอกกลม กลีบใบจะซ้อนๆ กันมีหลากหลายสี เช่น สีแดง สีบานเย็น สีขาว สีม่วง น้ำเงิน สีเหลือง เบญจมาศเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดด ต้องการน้ำปานกลาง และความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเมื่อนำมาปลูกภายในอาคารจึงควรตั้งไว้ในที่ๆ แสงแดดส่องถึง รดน้ำอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี |
นอกจากดอกที่มีสีสันสดใสทำให้บรรยากาศภายในสดชื่นสว่างไสว ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเบญจมาศแล้วเบญจมาศยังเป็นไม้ประดับที่มีความน่าสนใจมาก อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการดูดสารพิษสูงมาก จำพวกสารพิษ ฟอร์มาดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย จึงไม่ควรมองข้ามที่จะหาเบญจมาศมาปลูกในสำนักงานหรือบ้านเรือน เป็นพืชที่ต้องการแสง แดดจัด เติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 18-24 องศาเซลเซียส เป็นต้นไม้ที่ ต้องการความชื้นสูง และ ต้องการน้ำมาก การดูแลต้นเบญจมาศ เบญจมาศเป็นพรรณไม้ที่ต้องการแสงมากเมื่อปลูกเป็นไม้ประดับในอาคารจึงควรตั้งไว้ริมหน้าต่างหรือในที่ๆ มีแสงส่องถึง ต้องการน้ำพอสมควร และต้องการความชื้นมากจึงควรหมั่นฉีดพ่นละอองน้ำ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเดือนละ 1-2 ครั้ง การปลูกต้นเบญจมาศ เป็นพรรณไม้ที่ปลูกที่แสงแดดจัด กึ่งแดด เบญจมาศชอบดินร่วนซุยที่อุดมด้วยอินทรียวัตถุ ส่วนผสมของดินใช้ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน การขยายพันธุ์ต้นเบญจมาศ โดยการเพาะเมล็ด โรคและแมลงโรคใบแห้ง โรคใบจุด การป้องกันกำจัด ไม่ควรปลูกเบญจมาศชิดกันมาก ทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวกมีผลให้ความชื้นสูงที่โคนต้นง่ายต่อการระบาดของโรค และควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แคบแทน, มาเนบ , และไซเนบ อย่างสม่ำเสมอ
โรคดอกเน่า โรคราสนิม การป้องกันกำจัด ดูแลแปลงปลูกให้สะอาด และฉีดพ่นด้วยเพลนท์แวกซ์ ทุก ๆ 7 วันในช่วงที่มีการระบาด
หนอนผีเสื้อกินดอก การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นด้วย บาซูดิน 40% ชนิดผง 2-3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ปี๊บ
หนอนเจาะสมอฝ้าย การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วย อโกรน่า, แบคโสบิน, แอมบุช หรือแลนเนท
เพลี้ยไฟ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากกลีบดอก ทำให้ดอกไม่บานหรือดอกแหว่ง และทำให้กลีบดอกเหี่ยวแห้ง การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยพอสซ์ อัตรา 2 ช้อนต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่น 3 วันต่อครั้ง เมื่อถึงระยะดอก เริ่มบานให้ฉีดวันเว้นวัน ติดต่อกัน 7 ครั้ง เพลี้ยอ่อน ดูดกินน้ำเลี้ยงที่โคนกลีบดอก ทำให้ดอกหงิกงอไม่บานหรือยอดคดงอ ดอกมีขนาดเล็กลง การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออน 57% EC อัตรา 2-3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือบาซูดิน 60% EC อัตรา 2-3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ปี๊บ |
|